Custom Search
 
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย (ดูภาพด้านล่าง)

หมายเหตุ : เนื้อหาและรูปภาพในหัวข้ออุทยานแห่งชาติภูกระดึงนี้มีด้วยกันทั้งหมด 8 หน้า ท่านสามารถ click link ตัวเลขที่ด้านล่างสุดของหน้า เพื่อชมข้อมูลและรูปภาพในหน้าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ

     สำหรับความเป็นมาของ “ลูกหาบ” ที่เป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่คู่กับภูกระดึงมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ (ภูกระดึงได้รับการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2486 ต่อมาจึงได้รับการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2505) และอนุญาตให้นักท่องเที่ยวขึ้นชมยอดภูได้นั้นมาจากความมีน้ำใจของชาวบ้าน “บ้านศรีฐาน” ในการช่วยแบ่งเบาขนสัมภาระของนักท่องเที่ยวโดยไม่มีค่าจ้าง ต่อมาเมื่อปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นจึงเกิดเป็นระบบเกื้อกูลพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชนโดยนักท่องเที่ยวจะจ่ายค่าตอบแทนในการขนสัมภาระให้แก่ชาวบ้านและมีการพัฒนากลายมาเป็นระบบ “ลูกหาบ” ในท้ายที่สุด
     เวลาประมาณ 8.30 น. ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราก็เริ่มต้นออกเดินทางขึ้นสู่ยอดภูกระดึง เมื่อเดินผ่านสถานีลงทะเบียนนักท่องเที่ยวจุดที่ 2 มาเพียงเล็กน้อยก็จะพบกับเสา “หลัก กม.0” ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่หน้าป้าย “เรารักษ์ภูกระดึง” ด้านซ้ายมือ เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกให้นักท่องเที่ยวทั้งหลายทราบว่าเส้นทางซึ่งทอดยาวกว่า 5 กิโลเมตรขึ้นสู่สุดยอดภูของประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว อากาศยามเช้าขณะที่เราออกเดินทางนั้นเย็นสบายไม่ร้อนอบอ้าว ขณะที่ทีมงานของเรามาท่องเที่ยวนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวทำให้ต้นไม้ใบหญ้าสองข้างทางขึ้นภูยังคงมีสีเขียวสดตัดกับสีน้ำตาลของพื้นดินซึ่งยังคงชุ่มชื้นไปด้วยไอน้ำค้างสวยงามยิ่ง พวกเราเดินปล่อยอารมณ์ถ่ายรูปไปเรื่อยๆ ไม่นานนักก็เริ่มมีเหงื่อแม็ดน้อยใหญ่ผุดขึ้นตามสรรพางค์กายโดยทั่วแม้จะยังไม่ถึงจุดพักแรก “ซำแฮก” ก็ตาม
      หลังจากตะเกียกตะกายมาได้สักพักหนึ่งในที่สุดพวกเราก็มาถึง “ซำแฮก” จนได้ พี่ต้นหญ้า webmaster แห่งท่องเที่ยวดอทคอม( www.thongteaw.com ) และช่างภาพคนสำคัญ ที่ขึ้นมาถึงซำแฮกก่อนหน้าพวกเราสักพักชี้ให้ดู “เหยี่ยว” ที่บินอยู่ลิบๆและบอกว่าพวกเราขึ้นมาช้าเกินไปหน่อย เมื่อครู่เหยี่ยวตัวนั้นยังบินอยู่ในระยะใกล้ๆเหนือยอดไม้บนหัวพี่อยู่เลย ด้วยความเหนื่อยทำให้พวกเราไม่ได้สนใจกับเหยี่ยวสักเท่าไหร่นัก แต่หันไปสนใจซุ้มขายไอศกรีมและเครื่องดื่มต่างๆซึ่งมีอยู่หลากหลายร้านแทน (คำว่า “ซำ” นั้นมีความหมายถึง “น้ำซับ” หรือน้ำที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน เป็นจุดซึ่งพรานป่าในสมัยโบราณใช้แวะพักระหว่างการเดินทางอีกทั้งยังเป็นจุดที่มักจะมีสัตว์ป่าต่างๆมาแวะดื่มน้ำอยู่เสมอๆ ปัจจุบันซำต่างๆเหล่านี้ได้กลายมาเป็นจุดตั้งร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม รวมไปถึงอุปกรณ์กันหนาวและอุปกรณ์กันทากเล็กๆน้อยระหว่างทางขึ้นสู่ยอดภูกระดึงในที่สุด)


ทางขึ้น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย เห็ด อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย บนซำ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย ระหว่างเส้นทาง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย

สัมภาระของเหล่านักท่องเที่ยวถูกลำเลียงโดยพี่ลูกหาบที่แข็งแรงบึกบึน
ต้องขอบคุณพี่ ๆ จริง ๆ ที่ทำให้เราสามารถเดินทางขึ้นมาที่นี่ได้โดยไม่ยากนัก (แต่เกือบแย่เหมือนกันแฮะ)


ลูกหาบ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย ร้านค้าอาหารเครื่องดื่ม อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย
ใกล้จะถึงซำแล้ว เอ้า!!! ฮุย เล่ ฮุย

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย
เส้นทางค่อย ๆ ชันขึ้นทีละน้อย แต่เดินไกล ๆ ก็สาหัสเอาการอยู่เหมือนกัน



     ทีมงานของเราแวะพักที่ซำแฮกอยู่ไม่นานนักก็ออกเดินมุ่งสู่ยอดภูต่อ ระหว่างทางคุณจะได้พบกับดอกไม้สีสวยสดใสหรือดอกเห็ดต่างๆอยู่ประปรายพอจะดูชมให้รู้สึกคลายเหนื่อยล้าได้บ้าง เส้นทางขึ้นสู่ยอดภูนั้นไม่สูงชันเท่าที่เคยคิดจินตนาการไว้ตามคำร่ำลือ หากแต่ความยาวไกลก็ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าสะสมได้มากขึ้นเรื่อยๆตามระดับความสูง เมื่อยามผ่านจุดแวะพักตามซำต่างๆนั้นก็จะมีประดาพ่อค้าแม่ขายพยายามออกเสียงร้องเรียกว่า “พักตรงนี้ดีกว่า.....เหนื่อยมานานกับความสับสนวุ่นวาย......” ราวกับมี “พี่เบิร์ด” มาช่วยชักชวนบรรดาว่าที่ลูกค้าให้เข้ามานั่งพักดื่มน้ำดื่มท่าหาอาหารรับประทานในร้านของตนยังไงยังงั้นเลยทีเดียว (ระหว่างทางขึ้นสู่หลังแปของภูกระดึงนั้นคุณจะได้ผ่านจุดแวะพักต่างๆดังนี้ คือ ปางกกค่า ซำแฮก ซำบอน ซำกกกอก ซำกอซาง พร่านพรานแป ซำกกหว้า ซำกกไผ่ ซำกกโดนและซำแคร่เป็นจุดพักสุดท้ายก่อนถึงหลังแป จุดแวะพักบางแห่งก็จะมีเพียงม้านั่งไม้หรือปูนให้นั่งพักเหนื่อยโดยไม่มีร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด สำหรับจุดแวะพักซึ่งมีร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเปิดให้บริการอยู่รวมถึงมีห้องน้ำให้เข้าคลายทุกข์หนักและเบาอย่างแน่นอนได้แก่ ซำแฮก ซำกอซาง ซำกกโดนและซำแคร่)
สำหรับราคาของอาหารและน้ำดื่มตามจุดพักต่างๆนั้นจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามระดับความสูง เช่น ราคาอาหารจานเดียวจะอยู่ที่ 30-35 บาท ณ ซำแฮก แต่จะกลายเป็น 40-45 บาทเมื่อถึงซำแคร่ เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากคิดว่าต้องแวะพักรับประทานอาหารแน่ๆระหว่างการเดินทางขึ้นสู่หลังแปแล้วล่ะก็ ควรรีบแวะหาของหนักๆรองท้องตั้งแต่จุดพักต้นๆจะช่วยประหยัดสตางค์ในกระเป๋าไปได้อีกเล็กน้อย




อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย ยอดภูกระดึง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย
"ครั้งหนึ่งในชีวิต เราคือผู้พิชิตผู้กระดึง"
ป้ายสัญลักษณ์ของภูกระดึงที่ใครสามารถขึ้นมาถึงยอดภูกระดึงแล้วต้องมาโพสท่ากันที่นี่(ภาพขวามือสุด)

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย 
ตอนนี้เป็นทางราบแล้วคร้าบ กำลังเดินทางสู่ที่ทำการอุทยานแล้วคร้าบ


      เส้นทางตั้งแต่ “ซำแคร่” (จุดแวะพักสุดท้ายระหว่างทางขึ้นภู)ไปจนถึง “หลังแป” ระยะทางประมาณ 1.3 กิโลเมตรนั้นเป็นเส้นทางช่วงที่มีความสูงชันและเดินได้ยากลำบากที่สุดโดยเฉพาะเมื่อคุณมาท่องเที่ยวภูกระดึงในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวเฉกเช่นเดียวกับทีมงานของเราในครั้งนี้ เนื่องจากบางช่วงคุณจะต้องตะเกียกตะกายปีนป่ายไปตามทางดินและก้อนหินเล็กๆซึ่งอุดมไปด้วยขี้โคลนลื่นๆเพื่อขึ้นไปยังจุดหมายที่อยู่สูงกว่า โชคดีที่ทีมงานของเราไม่มีใครไฟแรงพอจะแบกเป้หนักๆขึ้นภูมาด้วยตนเองทำให้สามารถเดินทางผ่านจุดอันตรายดังกล่าวไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แต่หากใครซึ่งคิดว่าตนเองเป็นนักผจญภัยไฟแรงสูงและแบกสัมภาระหนักๆขึ้นภูมาด้วยตนเองแล้วล่ะก็รับรองว่าคุณจะได้ผจญกับอันตรายมากกว่าที่คาดคิดไว้แน่นอน แถมบางกรณีที่เคราะห์ซ้ำกรรมซัดมีฝนตกลงมาระหว่างที่คุณเดินขึ้นภูมาถึงจุดนี้ด้วยแล้วจะทำให้สถานการณ์ซึ่งไม่ค่อยน่าไว้วางใจดังข้างต้นยิ่งเลวร้ายลงไปอีก (ในวันอาทิตย์ที่ 18 ต.ค. 2552 ซึ่งทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราเดินทางขึ้นภูกระดึงนั้นมีฝนตกปรอยๆเป็นระยะๆระหว่างทางขึ้นภูด้วยครับ ทำให้การเดินผ่านเส้นทางบางช่วงนั้นค่อนข้างยากลำบากพอสมควรเลยทีเดียว) เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะคิดว่าตนเองเก่งกล้าสามารถขนาดไหน ทีมงานของเราขอแนะนำว่าการเดินทางขึ้นภูกระดึงนั้นควรสวมใส่รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าขึ้นภูเขาที่มีความสามารถในการยึดเกาะพื้นผิวเป็นอย่างดีมาด้วยจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า




อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อ.ภูกระดึง หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8

 



 

ภาพทุกภาพภายในเว็บไซต์หน้านี้เป็นลิขสิทธิ์ของท่องเที่ยวดอทคอม (www.Thongteaw.com)
หากทำการคัดลอก หรือนำไปใช้ในกรณีใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษรจากทางทีมงาน จะถูกดำเนินการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด


Copy right © 2008 - 2010 by Thongteaw.com - All Rights Reserved
เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็คโทรนิคส์ 3102201494154